[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
โลหะผสมเหลวในเปลือกหุ้มพอลิเมอร์ชนิดพิเศษ อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างหุ่นยนต์ เทอร์มิเนเตอร์ สาระความรู้ วิทยาลัยเทคโนโลยีเอ็น-เทคบริหารธุรกิจ
ทำเนียบบุคลากร
นางจงกลณี พานโฮม
ผู้อำนวยการ
ผู้บริหาร
ฝ่ายวิชาการ
ฝ่ายบริหารทรัพยากร
ฝ่ายกิจการนักศึกษา
ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ
เมนูหลัก
หน่วยงานภายใน
ศูนย์การเรียน
 
  ศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ
  ศูนย์รวมสื่อกระทรวงฯ
 โทรทัศน์ครู
  นวัตกรรมการศึกษา
  partners in learning
  สำนักหอสมุดแห่งชาติ
   ห้องสมุดธรรมะออนไลน์
  แหล่งเรียนรู้ข่าวสาร
   คลังความรู้สารานุกรมไทย
  สสวท.
   ภาษาไทย ภาษาทอง
   ค้นคำไทยในพจนานุกรม
   ราชบัณฑิตยสถาน
   วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
   หนังสือเรียน/เสริมความรู้

link banner







ท่องเที่ยว จ.หนองคาย
โรงเรียนใกล้เคียง
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 4 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน





  
  หมวดหมู่ : สาระความรู้
เรื่อง : โลหะผสมเหลวในเปลือกหุ้มพอลิเมอร์ชนิดพิเศษ อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างหุ่นยนต์ เทอร์มิเนเตอร์
โดย : admin
เข้าชม : 1632
จันทร์ ที่ 15 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2563

หุ่นยนต์แห่งโลกอนาคตที่ผุดขึ้นมาจากโลหะเหลวและก่อตัวเป็นรูปร่างจนเหมือนมนุษย์ อาจไม่ได้มีอยู่แต่ในภาพยนตร์เดอะเทอร์มิเนเตอร์ (The Terminator) หรือ "คนเหล็ก" ที่ดังติดต่อกันหลายภาคเท่านั้น ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ได้เข้าใกล้การสร้างหุ่นยนต์ล้ำยุคแบบนี้ไปอีกขั้น ด้วยการคิดค้นโลหะผสมเหลวในเปลือกหุ้ม ซึ่งสามารถเปลี่ยนรูปและคืนรูปเดิมได้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเมื่อให้ความร้อน

รายงานความสำเร็จของทีมนักวิจัยด้านวิศวกรรมเครื่องกลจากมหาวิทยาลัยบิงแฮมตันของสหรัฐฯ ตีพิมพ์ลงในวารสาร Additive Manufacturing โดยระบุว่าได้พัฒนาโลหะผสมชนิด Field's alloy ซึ่งมีบิสมัต (Bi) อินเดียม (In) และดีบุก (Sn)เป็นส่วนประกอบ แล้วบรรจุไว้ในเปลือกห่อหุ้มพิเศษทำจากวัสดุอีลาสโตเมอร์ (Elastomer) ที่มีโครงสร้างแบบลายขัดสาน (Lattice)

โลหะผสมหรืออัลลอยสูตรใหม่นี้จะอยู่ในสภาพของเหลว เมื่อถูกหลอมละลายด้วยความร้อนเพียงเล็กน้อยที่ 62 องศาเซลเซียส ทำให้สามารถดัดแปลงเปลี่ยนรูปร่างได้สารพัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมันอยู่ในเปลือกห่อหุ้มอีลาสโตเมอร์ ซึ่งเป็นพอลิเมอร์ที่ยืดหยุ่นได้เหมือนยาง แต่ทนความเครียดได้สูงและกลับคืนรูปเดิมได้ง่ายเมื่อให้ความร้อนอีกครั้งหนึ่ง

คุณสมบัติที่สามารถเปลี่ยนรูปและกลับคืนสู่รูปร่างเดิมได้นี้ ทำให้โลหะผสมเหลวในเปลือกพอลิเมอร์ยืดหยุ่นสูงดังกล่าว สามารถจะถูกนำไปประยุกต์ใช้งานได้ในหลากหลายด้าน ตั้งแต่งานวิศวกรรมหุ่นยนต์ไปจนถึงงานด้านสำรวจอวกาศ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผู่ จาง ผู้นำทีมวิจัยกล่าวว่า "ยานอวกาศอาจเกิดอุบัติเหตุตกกระแทก ขณะลงจอดยังพื้นผิวดวงจันทร์หรือดาวอังคาร ซึ่งโลหะปกติเมื่อรับแรงกระแทกแล้วก็จะบุบเสียหายใช้การอีกไม่ได้ แต่โลหะผสมเหลวในเปลือกอีลาสโตเมอร์สามารถจดจำรูปร่างเดิมของมัน และคืนสภาพได้ซ้ำแล้วซ้ำอีก หลายต่อหลายรอบ"

วัสดุดังกล่าวซึ่งทีมผู้คิดค้นวิจัยบอกว่าเป็น "โลหะเหลวในโครงสร้างขัดสาน" (Liquid metal lattice) ชนิดแรกของโลก ยังอาจนำไปใช้ประโยชน์ในการพับย่อส่วนอุปกรณ์ที่เป็นของแข็งต่าง ๆ ให้มีขนาดเล็กลง และทำให้ขยายใหญ่คืนสภาพเดิมได้อีกครั้งเมื่อต้องการ

แน่นอนว่าหนึ่งในเป้าหมายสูงสุดของการคิดค้นวัสดุล้ำยุคนี้ ก็คือการประดิษฐ์หุ่นยนต์โลหะเหลวที่เปลี่ยนรูปร่างและเคลื่อนย้ายตัวเองได้ในพริบตา เหมือนกับในภาพยนตร์เดอะเทอร์มิเนเตอร์ แม้ผศ. ผู่ จาง ผู้นำทีมวิจัยจะบอกว่า "เอาจริง ๆ เลยนะ ผมไม่เคยดูหนังเรื่องนี้กับเขาเลยครับ"





Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

สาระความรู้5 อันดับล่าสุด

      บรรพบุรุษจระเข้เดินสองขาได้เร็วคล้ายนกกระจอกเทศ เมื่อ 120 ล้านปีก่อน 15/มิ.ย./2563
      โลหะผสมเหลวในเปลือกหุ้มพอลิเมอร์ชนิดพิเศษ อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างหุ่นยนต์ เทอร์มิเนเตอร์ 15/มิ.ย./2563